เมนู

พึงเจริญขยายเมตตาที่ตรัสไว้ว่า เอวมฺปิ สพฺพภูเตสุ มานสํ
ภาวเย อปริมาณํ
ดังนี้ แผ่เมตตาที่มีอยู่ในใจไม่มีประมาณ ให้บรรลุถึงความ
เจริญงอกงามไพบูลย์ในโลกทั้งปวง. ทำอย่างไร คือแผ่เมตตานั้น ไปไม่เหลือ
ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างเบื้องขวางคือ เบื้องบนก็ตั้งแต่ภวัคคพรหมลงมา เบื้องล่าง
ก็ตั้งแต่อเวจีนรกขึ้นไป เบื้องขวางก็ตั้งแต่ทิศที่เหลือ หรือเบื้องบนก็ได้แก่
อรูปธาตุ เบื้องล่างก็ได้แก่กามธาตุ เบื้องขวางก็ได้แก่รูปธาตุ ก็แลเมื่อเจริญ
เมตตาอยู่อย่างนี้ การทำไม่ให้มีความคับแคบเวรและข้าศึก พึงเจริญ เมตตานั้น
โดยประการที่ไม่มีความคับแคบ ไม่มีเวรและไม่มีข้าศึก. หรือว่าเมตตานั้น
ถึงภาวนาสัมปทา เป็นคุณชื่อว่าไม่คับแคบ เพราะเป็นโอกาสโลกทั้งปวง (คือ
31 ภูมิ) เป็นคุณชื่อว่าไม่มีเวร เพราะกำจัดความอาฆาตของตนในสัตว์อื่นเสีย
เป็นคุณชื่อว่าไม่มีข้าศึก เพราะกำจัดความอาฆาตของสัตว์อื่นในตนเสียก็พึงเจริญ
ขยายเมตตาอันมีในใจนั้น ที่ไม่คับแคบ ที่ไม่มีเวร ที่ไม่มีข้าศึก ไม่มีประมาณไป
ในโลกทั้งปวง โดยกำหนดทิศทั้งสาม คือ เบื้องบน เบื้องล่างและเบื้องขวาง.

พรรณนาคาถาที่ 9


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น ทรงแสดงการเจริญเมตตาภาวนาอย่างนี้แล้ว
เมื่อทรงแสดงความไม่มีอิริยาบถแน่นอนของผู้ประกอบเนื่อง ๆ ซึ่งการเจริญ
เมตตานั้นอยู่ จึงตรัสว่า ติฏฺฐํ จรํ ฯ เป ฯ อธิฏฺเฐยฺย ดังนี้.
คาถานั้นมีความว่า ผู้เจริญเมตตาเมื่อเจริญเมตตามีในใจนี้อย่างนี้ ไม่
ต้องจำกัดอิริยาบถ เหมือนอย่างในบาลีว่า นั่งขัดสมาธิตั้งกายตรง เมื่อทำการ
บรรเทาความปวดเมื่อยด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามสบาย จะยืนหรือ
เดิน นั่งหรือนอน ยังเป็นผู้ปราศจากความง่วงนอน เพียงใด ก็พึงตั้งสติ
ในเมตตาฌานนั้นไว้เพียงนั้น.

อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงการเจริญเมตตาภาวนา
อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อทรงแสดงความเป็นผู้ชำนาญ จึงตรัส ว่า ติฏฺฐํ จรํ
เป็นต้น. จริงอยู่ ผู้ชำนาญแล้ว ยังประสงค์จะตั้งสติในเมตตาฌานด้วย
อิริยาบถเพียงใด จะยืนหรือเดิน จะนั่งหรือนอนก็ย่อมได้. อีกนัยหนึ่ง
ผู้ชำนาญ จะยืนหรือเดิน จะนั่งหรือนอน เพราะเหตุนั้น การยืนเป็นต้น ย่อม
ไม่ทำอันตรายแก่ผู้นั้น. อนึ่งเล่า ผู้ชำนาญ ยังประสงค์จะตั้งสตินั้น ไว้ใน
เมตตาฌานนี้เพียงใด ก็ต้องเป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนจึงตั้งสติไว้ได้เพียงนั้น.
ความเนิ่นช้าในเมตตาฌานนั้น ของผู้นั้นย่อมไม่มี ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่าจะยืน
หรือเดิน นั่ง หรือนอน ยังเป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนเพียงใด ก็พึงตั้งสตินั้น
ไว้เพียงนั้น.
คาถานั้น มีอธิบาย ดังนี้ ผู้ชำนาญพึงเจริญเมตตา ที่ตรัสไว้ว่า
เมตฺตญฺจ สพฺพโลกสฺมึ มานสํ ภาวเย โดยประการที่ผู้ชำนาญ ไม่จำ
ต้องเอื้อด้วยอิริยาบถ บรรดาอิริยาบถมียืนเป็นต้น หรือถึงอิริยาบถมียืนเป็นต้น
ยังประสงค์จะตั้งสติในเมตตาฌานนั้นเพียงใด เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอน
แล้วก็พึงตั้งสตินั้น ไว้เพียงนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงความเป็นผู้ชำนาญในเมตตาภาวนา
อย่างนี้ ทรงประกอบภิกษุไว้ในเมตตาวิหาร การอยู่ด้วยเมตตานั้นว่า เอตํ
สตึ อธิฏฺเฐยฺย
พึงตั้งสตินั้นไว้ บัดนี้ เมื่อทรงชมเชยการอยู่นั้นจึงตรัสว่า
พฺรหฺมเมตํ วิหารํ อิธมาหุ.
คาถานั้น มีความว่า การอยู่ด้วยเมตตานี้ใด ทรงสรรเสริญตั้งต้นแต่
พระพุทธดำรัสว่า สุขิโน วา เขมิโน วา โหนฺตุ จงเป็นผู้มีสุข หรือ
มีความเกษม จนถึงพระพุทธดำรัสว่า เอตํ สตึ อธิฏฺเฐยฺย พึงตั้งสตินั้น

ไว้เพียงนั้น. ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวการอยู่นั้นว่าพรหมวิหาร การอยู่อย่าง
พรหม กล่าวการอยู่นั้นว่า เสฏฺฐวิหาร การอยู่อย่างประเสริฐสุด ในพระ-
ศาสนา คือในธรรมวินัยของพระอริยนี้ เพราะไม่มีโทษในการอยู่อย่างทิพย์
อยู่อย่างพรหม อยู่อย่างพระอริยะและอยู่โดยอิริยาบถวิหาร และการอยู่ด้วย
เมตตานั้นทำประโยชน์ทั้งแก่คนทั้งแก่ผู้อื่น. เพราะเหตุที่ความสงบติดต่อกัน
ไม่ถูกแทรกแซง ฉะนั้น ผู้เจริญเมตตา ยืนก็ดี เดินก็ดี นั่งก็ดี นอนก็ดี
ยังไม่ง่วงนอนเพียงใด ก็พึงตั้งสตินั้นไว้เพียงนั้น.

การพรรณนาคาถาที่ 10


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเมตตาภาวนาประการต่าง ๆ แก่
ภิกษุเหล่านั้น อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพราะเหตุที่เมตตาใกล้ต่ออัตตทิฏฐิความเห็น
ว่าเป็นคน เพราะมีสัตว์เป็นอารมณ์ ฉะนั้น เมื่อทรงแสดงการบรรลุอริยภูมิ
ทำเมตตาฌานนั้นนั่นแหละให้เป็นบาท แก่ภิกษุเหล่านั้น โดยยกการห้าม การ
ถือทิฏฐิขึ้นนำหน้า จึงทรงจบเทศนาด้วยคาถานี้ว่า ทิฏฺฐิญฺจ อนุปคมฺม
เป็นต้น.
คาถานั้น มีความว่า การอยู่ด้วยเมตตาฌานนี้ใด ทรงสรรเสริญไว้
ว่า พรหฺมเมตํ วิหารํ อิธมาหุ ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวการอยู่นั้น ว่าพรหม-
วิหารในพระธรรมวินัยนี้ ผู้เจริญเมตตา ออกจากการอยู่ด้วยเมตตาฌานนั้น
แล้ว กำหนด [นาม] ธรรม มีวิตกวิจารเป็นต้น ในที่นั้น และรูปธรรมตาม
แนวการกำหนด [นาม] ธรรมเหล่านั้นเป็นต้น แล้วกำหนดอรูปธรรม และ
ด้วยการกำหนดนามรูป ก็ไม่ยึดทิฏฐิอย่างนี้ว่า นี้กองสังขารอันบริสุทธิ์บุคคล
ย่อมถือไม่ได้ว่าสัตว์ในสังขารนี้ดังนี้ เป็นผู้มีศีลโดยโลกุตรศีลตามลำดับ ถึง
พร้อมด้วยทัสสนะ ที่เข้าใจกัน ว่าสัมมาทิฏฐิในโสดาปัตติมรรค ซึ่งประกอบ